ลักษณะและประโยชน์ในการใช้งาน
ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศหลายๆรุ่น ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมคุณสมบัติอื่น ๆ นอกเหนือจากการทำความเย็น หากคุณสมบัติดังกล่าวผ่านการรับรองมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ จะเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ในการเลือกซื้อ ผู้ซื้อยังจำเป็นต้องวิเคราะห์ความต้องการของตนเอง เพื่อนำไปสื่อสารกับผู้ขาย เพื่อคัดเลือกแบบ รุ่นที่ตรงกับความต้องการทั้งขณะใช้งานและบริการหลังการขาย
ข้อมูลที่ควรเตรียมก่อนการเลือกซื้อ
- ประเภทของเครื่องปรับอากาศที่ต้องการ เครื่องปรับอากาศใช้ตามบ้านมีหลายประเภท ทั้งแบบติดผนัง (Wall Type) แบบตั้ง/แขวน (Ceiling/Wall Type) แบบฝังเพดาน (Built-in Type) และแบบอื่น ๆ ปัจจุบันที่นิยมใช้ตามบ้านจะเป็นแบบติดผนัง ซึ่งไม่เปลืองเนื้อที่ ติดตั้งได้กับห้องทุกขนาด
- ขนาด BTU ที่เหมาะสม โดย BTU ย่อมาจาก British Thermal Unit เป็นหน่วยขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ซึ่ง 1 ตันความเย็น จะเท่ากับ 12,000 BTU ต่อชั่วโมง ผู้ซื้อจะต้องเลือกขนาดทำความเย็นให้สอดคล้องกับขนาดของห้อง หากผิดขนาดนอกจากเปลืองไฟแล้วแอร์โหลดจะทำให้เสียง่ายขึ้น สำหรับตัวเลขโดยประมาณของขนาดห้องกับขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เป็นดังนี้
ขนาดแอร์ ขนาดแอร์ (บีทียู) BTU/Hr. |
ขนาดห้อง (ตร.เมตร) | |||
ห้องนอน | ห้องทำงาน | |||
ปกติ | โดนแดด | ปกติ | โดนแดด | |
9,000 BTU | 10-14 ตร.ม. | 9-13 ตร.ม. | 9-13 ตร.ม. | 8-12 ตร.ม. |
12,000 BTU | 14-18 ตร.ม. | 13-17 ตร.ม. | 12-16 ตร.ม. | 11-15 ตร.ม. |
18,000 BTU | 22-26 ตร.ม. | 21-25 ตร.ม. | 19-23 ตร.ม. | 18-22 ตร.ม. |
22,000 BTU | 27-31ตร.ม. | 25-29 ตร.ม. | 24-28 ตร.ม. | 22-26 ตร.ม. |
24,000 BTU | 30-34 ตร.ม. | 28-32 ตร.ม. | 26-30 ตร.ม. | 25-29 ตร.ม. |
30,000 BTU | 38-42 ตร.ม. | 35-39 ตร.ม. | 33-37 ตร.ม. | 31-35 ตร.ม. |
36,000 BTU | 46-50 ตร.ม. | 48-52 ตร.ม. | 40-44 ตร.ม. | 41-46 ตร.ม. |
- ประเภทและลักษณะของห้อง ผู้ซื้อต้องเตรียมข้อมูลในการพูดคุยกับผู้ขาย ว่าจะนำเครื่องปรับอากาศมาติดห้องแบบใด เช่น ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนั่งเล่น อยู่ทางทิศไหน โดนแดดวันละกี่ชั่วโมง แดดจัดไหม มีอะไรช่วยบังแดดบ้าง เช่น กันสาด หลังคา มีฉนวนกันความร้อนหรือเปล่า รวมถึงจำนวนคนที่อยู่ในห้องตามปกติ เช่น 1-3 คน 6-8 คน เป็นต้น
- คุณสมบัติใดที่ต้องการเป็นพิเศษ ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศมีหลากหลายแบรนด์ แต่ละแบรนด์ยังมีหลากหลายรุ่น บางรุ่นโฆษณากรองฝุ่นละออง เชื้อโรค ไรฝุ่น ยุง ดับกลิ่น อื่น ๆ ผู้ซื้อควรแจ้งความต้องการของตนเอง เพื่อผู้ขายจะได้แนะนำรุ่นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
- งบประมาณ เครื่องปรับอากาศมีหลายระดับราคา ผู้ซื้อต้องกำหนดงบประมาณในระดับที่สามารถจ่ายได้ เมื่อรู้งบประมาณแล้ว พูดคุยกับผู้ขายเพื่อหารุ่นที่ดีที่สุดภายใต้งบประมาณนั้น เช่น มีงบประมาณ 30,000 บาท ต้องการเครื่องปรับอากาศที่ฟังก์ชั่นมาตรฐาน เพิ่มการกรองฝุ่นลอออง หรือสารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น
คุณสมบัติที่ควรสอบถามจากผู้ขาย
- เทคโนโลยีที่เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ จากที่กล่าวมาเครื่องปรับอากาศปัจจุบัน มีหลายแบบหลายรุ่น หลายระดับราคา สอบถามเพื่อให้แน่ใจว่า รุ่นที่ผู้ขายแนะนำมีคุณสมบัติเด่นๆตามที่ผู้ซื้อต้องการ โดยคุณสมบัติเด่นๆนั้น ควรเป็นคุณสมบัติที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ มีการระบุในเอกสารรายละเอียดผลิตภัณฑ์ หรือในเว็บไซต์ เป็นต้น
- สอบถามคุณสมบัติพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ ผู้ซื้อควรสอบถามเรื่องพื้นฐาน แต่มีความสำคัญ เช่น ประเภทของคอมเพลสเซอร์ วัสดุที่ใช้ทำคอยล์ มอเตอร์พัดลม ระบบฟอกอากาศ (Air purifier) เป็นแบบใด เช่น แผ่นกรอง การใช้ไฟฟ้าสถิต ปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งอาจอยู่ในจุดเด่นข้อก่อนหน้า รวมถึงการประหยัดไฟ
- วัสดุหลัก การซ่อม การรับประกัน ผู้ซื้อควรสอบถามพูดคุยกับผู้ขาย โดยเฉพาะในรุ่นที่มีราคาสูง ถึงประเภทของวัสดุ อายุงานของวัสดุ การรับประกันว่าคลอบคลุมส่วนใดบ้าง เงื่อนไขเป็นอย่างไร ส่งศูนย์ ห้างหรือร้าน มีบริการรับส่งไหม ระยะเวลาในการซ่อมหรือรออะไหล่ เป็นต้น
- ราคา สอบถามราคา ส่วนลด ส่วนแถม เงื่อนไขการจ่ายต่างๆ
- คู่เทียบ เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ควรบอกให้ผู้ขายแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติและระดับราคาใกล้เคียงกัน เปรียบเทียบ 2-3 รุ่น ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เดียวกันหรือคนละแบรนด์ ถึงขั้นตอนนี้ มั่นใจว่าผู้ซื้อจะได้ข้อมูลจากผู้ขายเพิ่มเติมในอีกหลายเรื่อง
ข้อมูลเพิ่มเติม
- เลข 5 – ดีมาก ประสิทธิภาพการประหยัดไฟสูงสุด
- เลข 4 – ดี ประสิทธิภาพการประหยัดไฟสูง
- เลข 3 – ปานกลาง ประสิทธิภาพการประหยัดไฟปานกลาง
- เลข 2 – พอใช้ ประสิทธิภาพการประหยัดไฟพอใช้
- เลข 1 – ต่ำ ประสิทธิภาพการประหยัดไฟระดับต่ำ ไม่ควรใช้
- ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในตำแหน่งที่เหมาะสม คือสูงจากพื้นพอสมควร สามารถเปิดหรือปิดปุ่มต่างๆ ได้สะดวก และให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่อง และหมุนเวียนในห้องได้อย่างทั่วถึง
- ปิดประตูห้อง หรือหน้าต่างให้มิดชิด อย่าให้ความเย็นรั่วไหล
- ตั้งค่าให้เหมาะสม โดยเมื่อเปิดเครื่องควรเปิดความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุดก่อน เมื่อความเย็นได้ที่แล้ว ควรตั้งความเย็นไปที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส
- หมั่นทำความสะอาด แผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ และตะแกรง รวมทั้งชุดคอมเดนเซอร์ เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกจะประหยัดไฟโดยตรง
- ใช้พัดลมระบายอากาศเท่าที่จำเป็น
- ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้
- ฤดูหนาว อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
- หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด
- หน้าต่างหรือบานกระจกควรป้องกันรังสีความร้อนที่จะเข้ามา ด้วยการใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่น ผ้าใบ หรือแผงบังแดด หรือร่มเงาจากต้นไม้ ใช้กระจกหรือติดฟิล์มที่สะท้อนรังสีความร้อน และใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอนกระจกทิศตะวันออก-ตกให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง)
- ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมาก จึงควรป้องกันดังนี้ บุด้วยฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอกอาคาร
- พยายามอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน จึงควรปิดไฟเมื่อไม่มีความจำเป็น
- ชุดคอนเดนเซอร์ที่ใช้ระบายความร้อนสู่ภายนอก ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมเพื่อให้ระบายอากาศได้สะดวก และอย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง
ข้อมูลเพิ่มเติม : Product available : Product recommended : Review : Knowledge